Technical – Baanraigarden https://baanraigarden.com Thu, 18 Jun 2015 06:35:34 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.4.5 https://baanraigarden.com/wp-content/uploads/2023/01/logo-final-1.png Technical – Baanraigarden https://baanraigarden.com 32 32 สวนน้ำตกคิดราคากันอย่างไร ?​ https://baanraigarden.com/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2/ https://baanraigarden.com/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2/#respond Thu, 18 Jun 2015 06:35:34 +0000 https://baanraigarden.com/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2/ เรื่อง การใช้หลอดยูวีในบ่อเลี้ยงปลา แม้ว่าจะเป็นเรื่องเก่า แต่มีแง่มุมน่าสนใจ จึงเรียบเรียงเป็นคำถาม คำตอบ ไว้ให้ศึกษากันต่อไป​

ถาม – ถามจริงๆ หลอดยูวีที่ใช้กัน แก้ปัญหาน้ำเขียวได้จริงหรือครับ​

ตอบ – แก้ได้จริงครับ​

ถาม – อาจารย์เคยพูดว่าปัญหาน้ำในบ่อปลาคือน้ำขุ่นกับน้ำเขียว มันยังไงครับ​

ตอบ – น้ำขุ่น ส่วนใหญ่เกิดจากอนุภาคดิน หรือสารอินทรีย์ที่แขวนลอยอยู่ในเนื้อน้ำ สาเหตุเพราะวัสดุกรองไม่สามารถกรองเก็บไว้ได้ บางทีวัสดุกรองเหมาะสม แต่พื้นบ่อไม่ลาดเอียงพอหรือวางระบบท่อน้ำในบ่อไม่เอื้อให้ตะกอนที่พื้นบ่อไหลเข้าสะดือได้หมด มันก็เหลืออยู่ที่พื้นบ่อเป็นหย่อมๆ โดยเฉพาะตามมุมบ่อ พออุณหภูมิน้ำสูงตะกอนพวกนี้ก็ลอยขึ้นมา เป็นสาเหตุให้น้ำขุ่น ปัญหานี้หลอดยูวีช่วยไม่ได้ครับ​

ส่วนน้ำเขียว เกิดจากสาหร่ายชนิดเซลล์เดียว ที่เติบโตแพร่กระจายอยู่ในน้ำ ความจริงเรามองเซลล์สาหร่ายพวกนี้ไม่เห็น ลองตักใส่แก้วแล้วมองก็จะเห็นว่าน้ำใสดี แต่พออยู่ในบ่อซึ่งมีน้ำมีจำนวนมาก ก็ให้ผลทางการมองเป็นสีเขียวได้

ถ้าบ่อกรองใช้วัสดุกรองที่ดี มีปริมาณมากพอ จัดการรอบหมุนเวียนน้ำเหมาะสม เซลล์สาหร่ายก็จะถูกกรองเก็บเอาไว้ได้ในทุกๆรอบหมุนเวียนของน้ำ เมื่อภายในบ่อกรองไม่มีแสงสว่าง เซลล์สาหร่ายพวกนี้ก็จะตายไป ๆ จนน้ำในบ่อหายเขียวไปในที่สุด​

ถาม – อ้าว…ถ้าน้ำใสด้วยวัสดุกรองได้แล้ว อย่างนั้นทำไมยังต้องใช้หลอดยูวีอีกครับ​

ตอบ – ก็อยากให้น้ำใสไวๆ หรือไม่ก็บ่อเลี้ยงขนาดใหญ่ หรืออาจจำเป็นต้องลดขนาดบ่อกรอง ลดวัสดุกรอง หรือลดรอบหมุนเวียนน้ำ หรือบ่อได้รับแสงแดดนาน ​ หรือปลาที่เลี้ยงมีจำนวนมาก… ด้วยปัญหาหรือข้อจำกัดเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องใช้หลอดยูวีเข้ามาเสริม​

ถาม – อาจารย์ช่วยให้รายละเอียดเรื่องหลอดยูวีสักเล็กน้อยครับ​

ตอบ – แสงยูวี(UV) ก็เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แสงอัลตร้าไวโอเลต แบ่งตามความถี่ของคลื่นมี 3 ชนิด คือ UVA UVB และ UVC ที่เราใช้ในบ่อเลี้ยงปลา จะเป็นชนิด UVC ซึ่งเป็นแสงคลื่นสั้น มีพลังการทำลายเซลล์สิ่งมีชีวิตมากที่สุด ​

นักจัดสวนส่วนใหญ่ใช้ จะเป็นหลอดในแก้วใส เรียกว่าแก้วควอตซ์ โดยวางจุ่มลงในน้ำ อีกแบบหนึ่งเป็นหลอดที่มีกระบอกหุ้ม แต่ไม่ค่อยนิยมนัก เพราะราคาแพงกว่า แบบนี้วางในน้ำไม่ได้ และต้องมีปั๊มหรือต้องต่อท่อแยกให้น้ำจากบ่อกรองไหลเข้าในกระบอกเพื่อให้น้ำผ่านแสงยูวีก่อนที่น้ำจะไหลกลับเข้าบ่อปลา ที่ว่ายุ่งยากคือต้องกำหนดปริมาณน้ำและความเร็วน้ำที่เหมาะสมกับกำลัง(วัตต์)ของหลอดด้วย จึงจะได้ผลดี​

ถาม – ทราบว่าแสงยูวีจะฆ่าเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งที่เป็นจุลินทรีย์ฝ่ายดีและฝ่ายผู้ร้ายนี่ครับ​

ตอบ – นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าเราต้องวางหลอดยูวีไว้ในห้องกรองห้องสุดท้ายคือห้องปั๊มน้ำ จะไม่วางไว้ในห้องใส่วัสดุกรอง หรือไม่วางไว้ในบ่อปลาโดยตรง​

ถาม – เห็นว่ามันอันตรายต่อคนด้วย ​

ตอบ – อันตรายต่อเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกอย่าง อยู่ห่างๆ ได้บ้างอย่านาน ระยะที่แสงยูวีซี หวังผลทำลายจริงๆ ไม่เกิน 3 เซนติเมตรจากไส้หลอด แสงไม่ได้ทำลายจุลินทรีย์หรือเซลล์สาหร่ายคราวเดียวทั่วทั้งบ่อ ต้องใช้เวลาหลายวัน กว่าเซลล์สาหร่ายจะไหลผ่านเข้าใกล้แสง ถ้าจะให้ได้ผลเร็วก็ต้องใช้จำนวนหลายหลอด และมีกำลังวัตต์ที่มากพอด้วย ​

ถาม – แสงจากหลอดยูวีพวกนี้ยังมีประโยชน์อย่างอื่นมั้ยครับ​

ตอบ – มีงานวิจัยว่า แสงยูวียังช่วยกำจัดสารในกลุ่มคลอรามีน เช่น คลอรีนในน้ำได้ด้วยครับ​

ถาม – ขอคำแนะนำในการใช้หลอดยูวีด้วยครับ​

ตอบ – ตามหลักวิชาเลยนะ…และได้ผลดีจริง บ่อที่ไม่เลี้ยงปลา คือสร้างบ่อขึ้นมาเพื่อความสวยงามเฉยๆ อาจปลูกพืชน้ำจำพวก กก บ้างเล็กน้อย ต้องการให้น้ำใส ปริมาณน้ำ 1 ตัน(1,000 ลิตร) ใช้ 1 วัตต์ แต่ต้องให้น้ำหมุนเวียนด้วยนะ อย่าให้น้ำนิ่ง ​

บ่อเลี้ยงปลา ที่มีสภาพร่มเงาดี ปริมาณน้ำ 1 ตัน ใช้ 2 วัตต์ ​

บ่อเลี้ยงปลา ที่ได้รับแสงแดดมาก ปริมาณน้ำ 1 ตัน ใช้ 4 วัตต์ ​ ​

ถาม – หลอดพวกนี้อายุใช้งานนานมั้ยครับ​

ตอบ – หลอดจะลดประสิทธิภาพลงเรื่อยๆ จะลดมากลดน้อยก็อยู่กับคุณภาพสินค้า ทั่วๆไปมีอายุ 8-10 เดือน วิธีสังเกตว่าควรเปลี่ยนหรือยัง ก็ดูแสงถ้าสว่างน้อยลงหรือเปลี่ยนจากสีเดิม หรือใส่แว่นกันแสงแล้วดู ถ้าแสงมีลักษณะสั่นๆตลอดเวลา ไม่สม่ำเสมอ หรือสังเกตดูคุณภาพน้ำ ถ้าเปิดไว้หลายวันแล้วน้ำก็ยังเขียวก็ถึงเวลาเปลี่ยนแล้ว ​

และเพื่อไม่ประมาท เวลาใช้ครั้งแรก หรือตรวจเช็คหลอด หรือจะสัมผัสน้ำในบ่อกรอง ควรใช้ไขควงเช็คไฟจุ่มน้ำตรวจกระแสไฟก่อนทุกครั้ง เพราะบางครั้งได้หลอดที่ขั้วไฟไม่ดีน้ำเข้าทำให้ไฟรั่วได้ ​

]]>
https://baanraigarden.com/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2/feed/ 0
การระบายน้ำใต้ผิวดิน https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%9c%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99/ https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%9c%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99/#respond Thu, 18 Jun 2015 06:34:17 +0000 https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%9c%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99/ มีบางเรื่องเวลาพูดถึงแล้วยังเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน คือ

คำว่า..ระดับน้ำใต้ดินสูง การระบายน้ำใต้ผิวดิน ​ การระบายน้ำใต้ดิน

เมื่อเข้าไปวิเคราะห์พื้นที่ในงานจัดสวน เรื่องสำคัญประการหนึ่งคือ การหาวิธีระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้ได้ วิธีการระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่ดีที่สุดคือ การระบายน้ำทางผิวดิน ความหมายง่ายๆ คือ การปรับพื้นที่ให้ลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลไปยังจุดรับน้ำแล้วระบายออกจากพื้นที่

ที่บอกว่าดีที่สุดเพราะ มีประสิทธิภาพที่สุด ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้หลักการอะไรมาก ค่าใช้จ่ายต่ำหรือแทบไม่ต้องจ่ายเพิ่ม สภาพพื้นที่ก็ดูสวยงามสะอาดตา

น้ำในพื้นที่ ส่วนใหญ่มาจากน้ำฝนหรือเกิดจากการตั้งเวลาระบบการรดน้ำที่มากเกิน น้ำส่วนหนึ่งจะซึมลงพื้นดิน น้ำส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพืช แต่ดินจะรับไว้ได้จำกัดตามสภาพการปรับปรุงดินของนักจัดสวน ถ้าปรับปรุงดินดีดินก็จะอุ้มน้ำไว้มาก ปรับปรุงไม่ดีก็อุ้มน้ำได้น้อย ส่วนน้ำที่เกินจะเอ่อไหลออกไปตามความลาดเอียงที่ปรับระดับไว้…

แต่บางพื้นที่ บางบ้าน ไม่สามารถใช้วิธีระบายน้ำทางผิวดินได้ เพราะถูกปิดล้อมด้วยกำแพง หรือด้วยเหตุอื่นๆ วิธีการที่จะแก้ปัญหามีหลายวิธี แต่ควรเริ่มจากวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุดไปตามลำดับ เช่น

ระบายทางผิวดินร่วมกับร่องน้ำ มีทั้งร่องแบบเปิด ร่องแบบปิด หากไม่ชอบเพราะมองเห็นรูปร่องน้ำ ก็ระบายทางผิวดินร่วมกับการทำบ่อพักเป็นระยะๆ ปรับพื้นที่ลาดเอียงลงบ่อพัก แล้วมีท่อเชื่อมฝังอยู่ใต้ดิน ซึ่งเป็นวิธีที่เห็นกันทั่วไป

ถ้าไม่สามารถทำได้อย่างที่กล่าวมา ก็ต้องใช้วิธีสุดท้าย คือ การวางระบบระบายน้ำใต้ดิน ถ้าให้ถูกต้อง เรียกว่า การระบายน้ำใต้ผิวดิน คือการขุดดินวางท่อระบายลึกลงไปราว 30 ซม. ไม่เกิน50 ซม. ขึ้นอยู่กับประเภทของเนื้อดิน ซึ่งก็มีวิธีการเฉพาะที่อาจแตกต่างกันไปบ้าง

การระบายน้ำใต้ผิวดิน นี้ละคือประเด็นที่กล่าว เพราะหลายครั้งคนก็เข้าใจว่า นี่เป็นการระบายน้ำใต้ดิน ใช้สำหรับพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง เช่น ในเขตกรุงเทพบางพื้นที่

ความจริง การระบายน้ำใต้ผิวดินนี้ ก็ยังเป็นการระบายน้ำจากผิวดิน โดยที่น้ำจะถูกบังคับให้ซึมลงมารวมกันในท่อที่ฝังไว้ ก่อนจะไหลออกไปในจุดที่ต้องการ เมื่อน้ำที่ไหลซึมลงมาในดินถูกถ่ายเทออกไป น้ำจากบนผิวดินก็จะซึมเข้ามาแทนที่ ลักษณะนี้จะดำเนินไปเรื่อยๆ จนน้ำบนผิวดินค่อยๆ แห้งไป ส่วนใหญ่ใช้กับพื้นดินที่มีชั้นดินล่างแน่นหรือเป็นชั้นดินเหนียว น้ำซึมลึกไม่ได้

วิธีนี้ จะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับคนวางระบบว่ามีความเข้าใจเรื่องอัตราการซึมของน้ำในดินแต่ละประเภท ความเข้าใจในการวางระบบระบายใต้ดิน เนื่องเพราะวิธีการแบบนี้จะใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายของผู้ออกแบบ เพราะมีมากมายหลายที่ ก็ยังเห็นน้ำท่วมขังอยู่หลายชั่วโมง ทั้งที่มีท่อระบายน้ำอยู่ใต้ดิน…

ดังนั้น วิธีระบายด้วยท่อฝังดินที่มีความลึกแค่นี้ จึงไม่ใช่วิธีระบายน้ำใต้ดิน ที่เกิดจากระดับน้ำใต้ดินสูงตามที่เข้าใจ ถ้าจะระบายน้ำใต้ดิน ในพื้นที่ระดับน้ำใต้ดินสูงจริงๆ ต้องตรวจสอบระดับน้ำใต้ดินก่อนว่า อยู่ในระดับความลึกเท่าใด ทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง แล้วประเมินก่อนว่ามีผลต่อการปลูกต้นไม้หรือไม่ ถ้าไม่มีผลก็ไม่ต้องทำ

ถ้าไม่มีข้อมูลระดับความลึกของน้ำใต้ดิน ก็ถือเอาความลึกของรากไม้ใหญ่ที่นำมาปลูกเป็นเกณฑ์ โดยปกติไม้ใหญ่ต้องการความลึกของชั้นดินปลูกอย่างน้อย 0.80 -1 ม. ดังนั้น ท่อระบายน้ำใต้ดิน ต้องวางลึกไม่น้อยกว่า 1 ม. และต้องวางให้แนวท่อใกล้ตำแหน่งปลูกไม้ใหญ่ เมื่อน้ำใต้ดินยกตัวสูงขึ้น น้ำจะไหลเข้าสู่ท่อระบายที่วางดักไว้ แล้วไหลออกไปยังบ่อพัก เพื่อระบายออกหรือสูบออกนอกพื้นที่ เรื่องการระบายน้ำใต้ดิน

ยังมีรายละเอียดอีกพอสมควร นี่ก็เขียนไว้ยาวมากแล้ว จึงยุติไว้แค่นี้ก่อน

]]>
https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%9c%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99/feed/ 0