Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

เรื่องที่เหมือนจะรู้ในการรักษาคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาคาร์ป​…

บ่อปลาคาร์ฟ

เรื่องที่เหมือนจะรู้ในการรักษาคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาคาร์ป​…

  1. เราเติมออกซิเจนให้น้ำในบ่อเลี้ยงปลาได้เพียงจำกัดเท่าที่ออกซิเจนจะละลายได้เท่านั้น จะเติมมากกว่านี้ไม่ใด้ ต่อให้เติมเดือดสุดๆยังไงก็เพิ่มไม่ใด้ เพราะออกซิเจนจะละลายน้ำได้ดีต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความเข้มข้นของคลอไรด์ในน้ำ และอุณหภูมิของน้ำในบ่อ…​

ถ้าได้จากน้ำประปาที่มีคุณภาพก็มั่นใจในเรื่องปริมาณคลอไรด์ที่ละลายอยู่ว่าไม่เกินมาตรฐานแน่ (ไม่เกิน 250 มิลลิกรัม/ลิตร)การเติมอากาศจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ง่าย แต่ถ้าได้จากน้ำใต้ดิน หรือน้ำจากแม่น้ำลำคลองทั่วไป อาจจะมีปริมาณคลอไรด์สูง ยิ่งสูงมาก ยิ่งทำให้ออกซิเจนละลายได้ยาก​

และถ้าอุณหภูมิน้ำสูงก็ทำให้ออกซิเจนละลายน้ำได้น้อย อยากเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มาก ก็ต้องลดอุณหภูมิของน้ำลง เหมือนที่เขาขนส่งปลา จะใช้น้ำแข็งช่วยลดอุณหภูมิน้ำให้ต่ำลง ​ เราจะลดอุณหภูมิน้ำในบ่อปลาด้วยน้ำแข็งไม่ได้ ​ ก็ต้องสร้างสภาพร่มเงาให้เกิดขึ้นมากๆ และให้บ่อมีความลึกที่เหมาะสม ​ ​

ค่ามาตรฐานน้ำคุณภาพดีต้องมีออกซิเจนละลายอยู่ 5-8 มก./ลิตร ผู้เลี้ยงปลาควรหาซื้อเครื่องมือวัดค่าออกซิเจนในน้ำไว้​

ข้อนี้บอกให้เราเข้าใจว่า ไม่ต้องใส่อุปกรณ์พ่นอากาศ(jet)มากจนเกินไป​

  1. เราเข้าใจว่าการเติมอากาศจะมุ่งหมายเพื่อเติมออกซิเจนอย่างเดียว ความเป็นจริง ลมที่ออกมาจากระบบ jet จะช่วยรักษาและปรับสภาพน้ำให้สม่ำเสมอทั่วทั้งบ่อ ถ้าน้ำในบ่อนิ่งสงบ อุณหภูมิน้ำจะไม่เท่ากัน น้ำช่วงบนมีอุณภูมิสูงกว่าน้ำช่วงล่าง ​ ลมของการเติมอากาศจะช่วยดันน้ำให้เคลื่อนที่ช้าๆ ในทิศทางเดียวกัน เป็นการช่วยปรับอุณหภูมิให้น้ำสม่ำเสมอ ​ เมื่ออุณหภูมิสม่ำเสมอ ค่าต่างๆภายในน้ำก็จะคงที่ ​

การที่ปลาตาย(เรียกกันว่าปลาช็อคน้ำ) ในเหตุการณ์ฝนตกหนัก ​ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการที่อุณหภูมิน้ำแตกต่างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยที่ระบบเติมอากาศไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้สม่ำเสมอได้ ​

ข้อนี้บอกให้เราได้รู้จักวางท่อjet ในความลึกที่เหมาะสม และพ่นน้ำออกไปในทิศทางที่รับกัน เพื่อให้น้ำเคลื่อนตัว แต่ไม่กระเพื่อมตีกันจนน้ำกระจายไร้ทิศทาง​

  1. ถ้าสามารถทำให้อุณหภูมิน้ำและออกซิเจนมีความสม่ำเสมอทั่วทั้งความลึก จะช่วยให้สาหร่ายชนิดดี(สาหร่ายเส้นสั้น)เกิดและเติบโตตามผนังและพื้นบ่อ ช่วยให้น้ำใส และปรับคุณภาพน้ำได้ดียิ่งขึ้น และควบคุมไม่ให้เกิดก๊าซพิษจำพวกไนไตรท์ขึ้นมา​

  1. ส่วนการเติมออกซิเจนในบ่อกรอง จะช่วยให้แบคทีเรียชนิดดีเติบโตแข็งแรง ก็เติมพอประมาณ เพราะอัดลงไปมากอย่างไร ออกซิเจนก็ละลายได้จำกัดตามที่กล่าวมาในข้อ1. ข้อนี้เห็นหลายๆบ่อเติมกันอย่างมากมาย​

  1. ***การใส่เกลือแกงลงในบ่อเลี้ยงปลา จะช่วยรักษาระดับโซเดียมและคลอไรด์ในเลือดปลาเพื่อลดความเครียด เกลือแกงยังช่วยลดก๊าซแอมโมเนียและไนไตรท์ด้วย แต่ควรใช้ในความเข้มข้น 0.5 % คือ ใช้เกลือ 500 กรัม ต่อน้ำในบ่อ 100 ลิตร ด้วยการนำเกลือมาละลายน้ำก่อนเทกลับลงบ่อ และถ้าจำเป็นต้องใส่เกลือซ้ำต้องถ่ายน้ำเกลือเดิมในบ่อออกไปไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของบ่อ เพื่อลดการสะสมของเกลือ เพราะถ้ามีความเข้มข้นของเกลือมากเกินไป ออกซิเจนในบ่อจะลดลงได้

(***วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง ปีที่10 ฉ.1 มกราคม-มิถุนายน 2559 “ความเข้มข้นของเกลือที่มีผลต่อคุณภาพน้ำและเลือด(โซเดียมและคลอไรด์)ของปลาแฟนซีคาร์ป, นงนุช อัศววงศ์เกษมและ วีณา เคยพุดซา.)​)

Related posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *