Baanraigarden https://baanraigarden.com Tue, 28 Mar 2023 12:17:32 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.4.4 https://baanraigarden.com/wp-content/uploads/2023/01/logo-final-1.png Baanraigarden https://baanraigarden.com 32 32 การใช้หลอดยูวีในบ่อเลี้ยงปลา….. https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2/ https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2/#comments Thu, 18 Jun 2015 06:50:35 +0000 https://gardening.local/?p=1 เรื่อง การใช้หลอดยูวีในบ่อเลี้ยงปลา แม้ว่าจะเป็นเรื่องเก่า แต่มีแง่มุมน่าสนใจ จึงเรียบเรียงเป็นคำถาม คำตอบ ไว้ให้ศึกษากันต่อไป​

ถาม – ถามจริงๆ หลอดยูวีที่ใช้กัน แก้ปัญหาน้ำเขียวได้จริงหรือครับ​

ตอบ – แก้ได้จริงครับ​

ถาม – อาจารย์เคยพูดว่าปัญหาน้ำในบ่อปลาคือน้ำขุ่นกับน้ำเขียว มันยังไงครับ​

ตอบ – น้ำขุ่น ส่วนใหญ่เกิดจากอนุภาคดิน หรือสารอินทรีย์ที่แขวนลอยอยู่ในเนื้อน้ำ สาเหตุเพราะวัสดุกรองไม่สามารถกรองเก็บไว้ได้ บางทีวัสดุกรองเหมาะสม แต่พื้นบ่อไม่ลาดเอียงพอหรือวางระบบท่อน้ำในบ่อไม่เอื้อให้ตะกอนที่พื้นบ่อไหลเข้าสะดือได้หมด มันก็เหลืออยู่ที่พื้นบ่อเป็นหย่อมๆ โดยเฉพาะตามมุมบ่อ พออุณหภูมิน้ำสูงตะกอนพวกนี้ก็ลอยขึ้นมา เป็นสาเหตุให้น้ำขุ่น ปัญหานี้หลอดยูวีช่วยไม่ได้ครับ​

ส่วนน้ำเขียว เกิดจากสาหร่ายชนิดเซลล์เดียว ที่เติบโตแพร่กระจายอยู่ในน้ำ ความจริงเรามองเซลล์สาหร่ายพวกนี้ไม่เห็น ลองตักใส่แก้วแล้วมองก็จะเห็นว่าน้ำใสดี แต่พออยู่ในบ่อซึ่งมีน้ำมีจำนวนมาก ก็ให้ผลทางการมองเป็นสีเขียวได้

ถ้าบ่อกรองใช้วัสดุกรองที่ดี มีปริมาณมากพอ จัดการรอบหมุนเวียนน้ำเหมาะสม เซลล์สาหร่ายก็จะถูกกรองเก็บเอาไว้ได้ในทุกๆรอบหมุนเวียนของน้ำ เมื่อภายในบ่อกรองไม่มีแสงสว่าง เซลล์สาหร่ายพวกนี้ก็จะตายไป ๆ จนน้ำในบ่อหายเขียวไปในที่สุด​

ถาม – อ้าว…ถ้าน้ำใสด้วยวัสดุกรองได้แล้ว อย่างนั้นทำไมยังต้องใช้หลอดยูวีอีกครับ​

ตอบ – ก็อยากให้น้ำใสไวๆ หรือไม่ก็บ่อเลี้ยงขนาดใหญ่ หรืออาจจำเป็นต้องลดขนาดบ่อกรอง ลดวัสดุกรอง หรือลดรอบหมุนเวียนน้ำ หรือบ่อได้รับแสงแดดนาน ​ หรือปลาที่เลี้ยงมีจำนวนมาก… ด้วยปัญหาหรือข้อจำกัดเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องใช้หลอดยูวีเข้ามาเสริม​

ถาม – อาจารย์ช่วยให้รายละเอียดเรื่องหลอดยูวีสักเล็กน้อยครับ​

ตอบ – แสงยูวี(UV) ก็เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แสงอัลตร้าไวโอเลต แบ่งตามความถี่ของคลื่นมี 3 ชนิด คือ UVA UVB และ UVC ที่เราใช้ในบ่อเลี้ยงปลา จะเป็นชนิด UVC ซึ่งเป็นแสงคลื่นสั้น มีพลังการทำลายเซลล์สิ่งมีชีวิตมากที่สุด ​

นักจัดสวนส่วนใหญ่ใช้ จะเป็นหลอดในแก้วใส เรียกว่าแก้วควอตซ์ โดยวางจุ่มลงในน้ำ อีกแบบหนึ่งเป็นหลอดที่มีกระบอกหุ้ม แต่ไม่ค่อยนิยมนัก เพราะราคาแพงกว่า แบบนี้วางในน้ำไม่ได้ และต้องมีปั๊มหรือต้องต่อท่อแยกให้น้ำจากบ่อกรองไหลเข้าในกระบอกเพื่อให้น้ำผ่านแสงยูวีก่อนที่น้ำจะไหลกลับเข้าบ่อปลา ที่ว่ายุ่งยากคือต้องกำหนดปริมาณน้ำและความเร็วน้ำที่เหมาะสมกับกำลัง(วัตต์)ของหลอดด้วย จึงจะได้ผลดี​

ถาม – ทราบว่าแสงยูวีจะฆ่าเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งที่เป็นจุลินทรีย์ฝ่ายดีและฝ่ายผู้ร้ายนี่ครับ​

ตอบ – นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าเราต้องวางหลอดยูวีไว้ในห้องกรองห้องสุดท้ายคือห้องปั๊มน้ำ จะไม่วางไว้ในห้องใส่วัสดุกรอง หรือไม่วางไว้ในบ่อปลาโดยตรง​

ถาม – เห็นว่ามันอันตรายต่อคนด้วย ​

ตอบ – อันตรายต่อเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกอย่าง อยู่ห่างๆ ได้บ้างอย่านาน ระยะที่แสงยูวีซี หวังผลทำลายจริงๆ ไม่เกิน 3 เซนติเมตรจากไส้หลอด แสงไม่ได้ทำลายจุลินทรีย์หรือเซลล์สาหร่ายคราวเดียวทั่วทั้งบ่อ ต้องใช้เวลาหลายวัน กว่าเซลล์สาหร่ายจะไหลผ่านเข้าใกล้แสง ถ้าจะให้ได้ผลเร็วก็ต้องใช้จำนวนหลายหลอด และมีกำลังวัตต์ที่มากพอด้วย ​

ถาม – แสงจากหลอดยูวีพวกนี้ยังมีประโยชน์อย่างอื่นมั้ยครับ​

ตอบ – มีงานวิจัยว่า แสงยูวียังช่วยกำจัดสารในกลุ่มคลอรามีน เช่น คลอรีนในน้ำได้ด้วยครับ​

ถาม – ขอคำแนะนำในการใช้หลอดยูวีด้วยครับ​

ตอบ – ตามหลักวิชาเลยนะ…และได้ผลดีจริง บ่อที่ไม่เลี้ยงปลา คือสร้างบ่อขึ้นมาเพื่อความสวยงามเฉยๆ อาจปลูกพืชน้ำจำพวก กก บ้างเล็กน้อย ต้องการให้น้ำใส ปริมาณน้ำ 1 ตัน(1,000 ลิตร) ใช้ 1 วัตต์ แต่ต้องให้น้ำหมุนเวียนด้วยนะ อย่าให้น้ำนิ่ง ​

บ่อเลี้ยงปลา ที่มีสภาพร่มเงาดี ปริมาณน้ำ 1 ตัน ใช้ 2 วัตต์ ​

บ่อเลี้ยงปลา ที่ได้รับแสงแดดมาก ปริมาณน้ำ 1 ตัน ใช้ 4 วัตต์ ​ ​

ถาม – หลอดพวกนี้อายุใช้งานนานมั้ยครับ​

ตอบ – หลอดจะลดประสิทธิภาพลงเรื่อยๆ จะลดมากลดน้อยก็อยู่กับคุณภาพสินค้า ทั่วๆไปมีอายุ 8-10 เดือน วิธีสังเกตว่าควรเปลี่ยนหรือยัง ก็ดูแสงถ้าสว่างน้อยลงหรือเปลี่ยนจากสีเดิม หรือใส่แว่นกันแสงแล้วดู ถ้าแสงมีลักษณะสั่นๆตลอดเวลา ไม่สม่ำเสมอ หรือสังเกตดูคุณภาพน้ำ ถ้าเปิดไว้หลายวันแล้วน้ำก็ยังเขียวก็ถึงเวลาเปลี่ยนแล้ว ​

และเพื่อไม่ประมาท เวลาใช้ครั้งแรก หรือตรวจเช็คหลอด หรือจะสัมผัสน้ำในบ่อกรอง ควรใช้ไขควงเช็คไฟจุ่มน้ำตรวจกระแสไฟก่อนทุกครั้ง เพราะบางครั้งได้หลอดที่ขั้วไฟไม่ดีน้ำเข้าทำให้ไฟรั่วได้ ​

บ่อปลาคาร์ฟคุณภาพจัดง่ายๆ ]]>
https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2/feed/ 1
สาระสวน ตอน สวนน้ำชา…. https://baanraigarden.com/%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99-%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99-%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%8a%e0%b8%b2/ https://baanraigarden.com/%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99-%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99-%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%8a%e0%b8%b2/#respond Thu, 18 Jun 2015 06:45:55 +0000 https://gardening.local/?p=87

สวนน้ำชา เป็นอีกหนึ่งสวนญี่ปุ่นที่สวยงาม ส่วนหนึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากสวนในวัดเซน ในแง่สมาธิและความสงบระงับ แต่สวนน้ำชา เป็นสวนที่ต้องเข้าถึงเรือนน้ำชา จึงต้องมีทางเดิน(โรจิ-ทางเดินที่ชุ่มน้ำค้าง)และศาลาพักคอย จึงมักเรียกสวนชาว่า ชาโรจิ ซึ่งเป็นต้นแบบสวนญี่ปุ่นที่ใช้ทางเดินเข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญจึงถึงปัจจุบัน

แต่โบราณ สวนน้ำชามี 2 ส่วน คือส่วนด้านนอกเป็นศาลาพักคอยของแขกที่มารอรับเชิญเข้าเรือนน้ำชา และส่วนด้านในเป็นเรือนน้ำชา ทั้งสองส่วนถูกแบ่งออกด้วยรั้วและประตูเล็กๆ แล้วต่อเชื่อมด้วยทางเดินที่ชุ่มน้ำค้าง เพื่อให้มีความรู้สึกสดชื่น ทางเดินจะใช้ก้อนหินหน้าเรียบวางแยกก้าวพอเดินได้สบาย ไม่นิยมวางเป็นแนวตรง ​ ไม่ใหญ่ไปไม่เล็กไป เพื่อให้ก้าวเดินเข้าไปทีละคน ด้วยความมีสติ รู้ตัว

พืชพรรณและก้อนหินที่รายไปทั้งสองข้างทางเดิน ควรจัดวางให้เป็นธรรมชาติ ใช้วิธีการจัดที่เรียกว่า “ซ่อนและเปิดเผย” อันเป็นวิธีการจัดวางที่ต้องเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ อาจเจอฉากพรางตาหรือเหลี่ยมมุมของก้อนหิน แล้วจึงได้เห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ นี่เป็นการสร้างความน่าสนใจให้เกิดขึ้นตลอดสาย นิยมใช้ต้นไม้สีเขียวที่ดูชอุ่มงามตลอดปี หลีกเลี่ยงการใช้ไม้ดอกหรือองค์ประกอบอื่นใดที่งดงามเกินจำเป็น เพื่อให้จิตใจได้สัมผัสกับความเรียบง่าย สมถะ

ก่อนเข้าเรือนน้ำชาก็จะพบกับอ่างน้ำที่เรียกว่า สึกุไบ ที่รับน้ำมาจากท่อไม้ไผ่ เพื่อใช้น้ำชำระมือและปาก ข้างๆ ยังมีตะเกียงหินให้แสงสว่างอยู่ใกล้ๆบริเวณนี้ และอาจมีก้อนหินประกอบอยู่ก้อนหนึ่งสำหรับให้วางสิ่งของเล็กๆ ก่อนล้างมือ (คนที่เคยไปวัดญี่ปุ่นก็อาจจะเคยพบเห็นว่ามีอ่างน้ำ มีกระบวยให้ล้างมือล้างปากก่อน) เพียงแต่อ่างน้ำในสวนชา จะอยู่ต่ำติดพื้นดิน เพื่อให้ผู้ชำระล้างได้ย่อยอบตัวลง ประหนึ่งการน้อมจิตใจลงสู่ความสงบที่กำลังจะเกิดขึ้นในเรือนชา

ปัจจุบัน สวนน้ำชา ได้นิยมนำมาจัดตามสถานที่ต่างๆ มีการพัฒนารูปแบบไปมากมาย ส่วนใหญ่จะหยิบเอารูปแบบพื้นฐานเข้ามาจัดเพื่อความสวยงามมากกว่ามุ่งเอาความหมายดั้งเดิม

เพียงแต่ว่า ถ้าเราได้เข้าใจความเป็นมาบ้าง การชมสวนน้ำชาก็จะมีรสชาติขึ้น

 

 

 

รับจ้างจัดสวนสวย สวนน้ำชา
]]>
https://baanraigarden.com/%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99-%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99-%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%8a%e0%b8%b2/feed/ 0
เรื่องที่เหมือนจะรู้ในการรักษาคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาคาร์ป​… https://baanraigarden.com/%e0%b8%84%e0%b8%93%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b/ https://baanraigarden.com/%e0%b8%84%e0%b8%93%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b/#respond Thu, 18 Jun 2015 06:40:51 +0000 https://gardening.local/?p=89
  1. เราเติมออกซิเจนให้น้ำในบ่อเลี้ยงปลาได้เพียงจำกัดเท่าที่ออกซิเจนจะละลายได้เท่านั้น จะเติมมากกว่านี้ไม่ใด้ ต่อให้เติมเดือดสุดๆยังไงก็เพิ่มไม่ใด้ เพราะออกซิเจนจะละลายน้ำได้ดีต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความเข้มข้นของคลอไรด์ในน้ำ และอุณหภูมิของน้ำในบ่อ…​

ถ้าได้จากน้ำประปาที่มีคุณภาพก็มั่นใจในเรื่องปริมาณคลอไรด์ที่ละลายอยู่ว่าไม่เกินมาตรฐานแน่ (ไม่เกิน 250 มิลลิกรัม/ลิตร)การเติมอากาศจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ง่าย แต่ถ้าได้จากน้ำใต้ดิน หรือน้ำจากแม่น้ำลำคลองทั่วไป อาจจะมีปริมาณคลอไรด์สูง ยิ่งสูงมาก ยิ่งทำให้ออกซิเจนละลายได้ยาก​

และถ้าอุณหภูมิน้ำสูงก็ทำให้ออกซิเจนละลายน้ำได้น้อย อยากเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มาก ก็ต้องลดอุณหภูมิของน้ำลง เหมือนที่เขาขนส่งปลา จะใช้น้ำแข็งช่วยลดอุณหภูมิน้ำให้ต่ำลง ​ เราจะลดอุณหภูมิน้ำในบ่อปลาด้วยน้ำแข็งไม่ได้ ​ ก็ต้องสร้างสภาพร่มเงาให้เกิดขึ้นมากๆ และให้บ่อมีความลึกที่เหมาะสม ​ ​

ค่ามาตรฐานน้ำคุณภาพดีต้องมีออกซิเจนละลายอยู่ 5-8 มก./ลิตร ผู้เลี้ยงปลาควรหาซื้อเครื่องมือวัดค่าออกซิเจนในน้ำไว้​

ข้อนี้บอกให้เราเข้าใจว่า ไม่ต้องใส่อุปกรณ์พ่นอากาศ(jet)มากจนเกินไป​

  1. เราเข้าใจว่าการเติมอากาศจะมุ่งหมายเพื่อเติมออกซิเจนอย่างเดียว ความเป็นจริง ลมที่ออกมาจากระบบ jet จะช่วยรักษาและปรับสภาพน้ำให้สม่ำเสมอทั่วทั้งบ่อ ถ้าน้ำในบ่อนิ่งสงบ อุณหภูมิน้ำจะไม่เท่ากัน น้ำช่วงบนมีอุณภูมิสูงกว่าน้ำช่วงล่าง ​ ลมของการเติมอากาศจะช่วยดันน้ำให้เคลื่อนที่ช้าๆ ในทิศทางเดียวกัน เป็นการช่วยปรับอุณหภูมิให้น้ำสม่ำเสมอ ​ เมื่ออุณหภูมิสม่ำเสมอ ค่าต่างๆภายในน้ำก็จะคงที่ ​

การที่ปลาตาย(เรียกกันว่าปลาช็อคน้ำ) ในเหตุการณ์ฝนตกหนัก ​ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการที่อุณหภูมิน้ำแตกต่างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยที่ระบบเติมอากาศไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้สม่ำเสมอได้ ​

ข้อนี้บอกให้เราได้รู้จักวางท่อjet ในความลึกที่เหมาะสม และพ่นน้ำออกไปในทิศทางที่รับกัน เพื่อให้น้ำเคลื่อนตัว แต่ไม่กระเพื่อมตีกันจนน้ำกระจายไร้ทิศทาง​

  1. ถ้าสามารถทำให้อุณหภูมิน้ำและออกซิเจนมีความสม่ำเสมอทั่วทั้งความลึก จะช่วยให้สาหร่ายชนิดดี(สาหร่ายเส้นสั้น)เกิดและเติบโตตามผนังและพื้นบ่อ ช่วยให้น้ำใส และปรับคุณภาพน้ำได้ดียิ่งขึ้น และควบคุมไม่ให้เกิดก๊าซพิษจำพวกไนไตรท์ขึ้นมา​

  1. ส่วนการเติมออกซิเจนในบ่อกรอง จะช่วยให้แบคทีเรียชนิดดีเติบโตแข็งแรง ก็เติมพอประมาณ เพราะอัดลงไปมากอย่างไร ออกซิเจนก็ละลายได้จำกัดตามที่กล่าวมาในข้อ1. ข้อนี้เห็นหลายๆบ่อเติมกันอย่างมากมาย​

  1. ***การใส่เกลือแกงลงในบ่อเลี้ยงปลา จะช่วยรักษาระดับโซเดียมและคลอไรด์ในเลือดปลาเพื่อลดความเครียด เกลือแกงยังช่วยลดก๊าซแอมโมเนียและไนไตรท์ด้วย แต่ควรใช้ในความเข้มข้น 0.5 % คือ ใช้เกลือ 500 กรัม ต่อน้ำในบ่อ 100 ลิตร ด้วยการนำเกลือมาละลายน้ำก่อนเทกลับลงบ่อ และถ้าจำเป็นต้องใส่เกลือซ้ำต้องถ่ายน้ำเกลือเดิมในบ่อออกไปไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของบ่อ เพื่อลดการสะสมของเกลือ เพราะถ้ามีความเข้มข้นของเกลือมากเกินไป ออกซิเจนในบ่อจะลดลงได้

(***วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง ปีที่10 ฉ.1 มกราคม-มิถุนายน 2559 “ความเข้มข้นของเกลือที่มีผลต่อคุณภาพน้ำและเลือด(โซเดียมและคลอไรด์)ของปลาแฟนซีคาร์ป, นงนุช อัศววงศ์เกษมและ วีณา เคยพุดซา.)​)

]]>
https://baanraigarden.com/%e0%b8%84%e0%b8%93%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b/feed/ 0
การให้แสงในบ่อเลี้ยงปลา ?​ https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%81%e0%b8%aa%e0%b8%87%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2/ https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%81%e0%b8%aa%e0%b8%87%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2/#respond Thu, 18 Jun 2015 06:35:34 +0000 https://gardening.local/?p=96 เรื่อง การใช้หลอดยูวีในบ่อเลี้ยงปลา แม้ว่าจะเป็นเรื่องเก่า แต่มีแง่มุมน่าสนใจ จึงเรียบเรียงเป็นคำถาม คำตอบ ไว้ให้ศึกษากันต่อไป​

ถาม – ถามจริงๆ หลอดยูวีที่ใช้กัน แก้ปัญหาน้ำเขียวได้จริงหรือครับ​

ตอบ – แก้ได้จริงครับ​

ถาม – อาจารย์เคยพูดว่าปัญหาน้ำในบ่อปลาคือน้ำขุ่นกับน้ำเขียว มันยังไงครับ​

ตอบ – น้ำขุ่น ส่วนใหญ่เกิดจากอนุภาคดิน หรือสารอินทรีย์ที่แขวนลอยอยู่ในเนื้อน้ำ สาเหตุเพราะวัสดุกรองไม่สามารถกรองเก็บไว้ได้ บางทีวัสดุกรองเหมาะสม แต่พื้นบ่อไม่ลาดเอียงพอหรือวางระบบท่อน้ำในบ่อไม่เอื้อให้ตะกอนที่พื้นบ่อไหลเข้าสะดือได้หมด มันก็เหลืออยู่ที่พื้นบ่อเป็นหย่อมๆ โดยเฉพาะตามมุมบ่อ พออุณหภูมิน้ำสูงตะกอนพวกนี้ก็ลอยขึ้นมา เป็นสาเหตุให้น้ำขุ่น ปัญหานี้หลอดยูวีช่วยไม่ได้ครับ​

ส่วนน้ำเขียว เกิดจากสาหร่ายชนิดเซลล์เดียว ที่เติบโตแพร่กระจายอยู่ในน้ำ ความจริงเรามองเซลล์สาหร่ายพวกนี้ไม่เห็น ลองตักใส่แก้วแล้วมองก็จะเห็นว่าน้ำใสดี แต่พออยู่ในบ่อซึ่งมีน้ำมีจำนวนมาก ก็ให้ผลทางการมองเป็นสีเขียวได้

ถ้าบ่อกรองใช้วัสดุกรองที่ดี มีปริมาณมากพอ จัดการรอบหมุนเวียนน้ำเหมาะสม เซลล์สาหร่ายก็จะถูกกรองเก็บเอาไว้ได้ในทุกๆรอบหมุนเวียนของน้ำ เมื่อภายในบ่อกรองไม่มีแสงสว่าง เซลล์สาหร่ายพวกนี้ก็จะตายไป ๆ จนน้ำในบ่อหายเขียวไปในที่สุด​

ถาม – อ้าว…ถ้าน้ำใสด้วยวัสดุกรองได้แล้ว อย่างนั้นทำไมยังต้องใช้หลอดยูวีอีกครับ​

ตอบ – ก็อยากให้น้ำใสไวๆ หรือไม่ก็บ่อเลี้ยงขนาดใหญ่ หรืออาจจำเป็นต้องลดขนาดบ่อกรอง ลดวัสดุกรอง หรือลดรอบหมุนเวียนน้ำ หรือบ่อได้รับแสงแดดนาน ​ หรือปลาที่เลี้ยงมีจำนวนมาก… ด้วยปัญหาหรือข้อจำกัดเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องใช้หลอดยูวีเข้ามาเสริม​

ถาม – อาจารย์ช่วยให้รายละเอียดเรื่องหลอดยูวีสักเล็กน้อยครับ​

ตอบ – แสงยูวี(UV) ก็เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แสงอัลตร้าไวโอเลต แบ่งตามความถี่ของคลื่นมี 3 ชนิด คือ UVA UVB และ UVC ที่เราใช้ในบ่อเลี้ยงปลา จะเป็นชนิด UVC ซึ่งเป็นแสงคลื่นสั้น มีพลังการทำลายเซลล์สิ่งมีชีวิตมากที่สุด ​

นักจัดสวนส่วนใหญ่ใช้ จะเป็นหลอดในแก้วใส เรียกว่าแก้วควอตซ์ โดยวางจุ่มลงในน้ำ อีกแบบหนึ่งเป็นหลอดที่มีกระบอกหุ้ม แต่ไม่ค่อยนิยมนัก เพราะราคาแพงกว่า แบบนี้วางในน้ำไม่ได้ และต้องมีปั๊มหรือต้องต่อท่อแยกให้น้ำจากบ่อกรองไหลเข้าในกระบอกเพื่อให้น้ำผ่านแสงยูวีก่อนที่น้ำจะไหลกลับเข้าบ่อปลา ที่ว่ายุ่งยากคือต้องกำหนดปริมาณน้ำและความเร็วน้ำที่เหมาะสมกับกำลัง(วัตต์)ของหลอดด้วย จึงจะได้ผลดี​

ถาม – ทราบว่าแสงยูวีจะฆ่าเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งที่เป็นจุลินทรีย์ฝ่ายดีและฝ่ายผู้ร้ายนี่ครับ​

ตอบ – นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าเราต้องวางหลอดยูวีไว้ในห้องกรองห้องสุดท้ายคือห้องปั๊มน้ำ จะไม่วางไว้ในห้องใส่วัสดุกรอง หรือไม่วางไว้ในบ่อปลาโดยตรง​

ถาม – เห็นว่ามันอันตรายต่อคนด้วย ​

ตอบ – อันตรายต่อเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกอย่าง อยู่ห่างๆ ได้บ้างอย่านาน ระยะที่แสงยูวีซี หวังผลทำลายจริงๆ ไม่เกิน 3 เซนติเมตรจากไส้หลอด แสงไม่ได้ทำลายจุลินทรีย์หรือเซลล์สาหร่ายคราวเดียวทั่วทั้งบ่อ ต้องใช้เวลาหลายวัน กว่าเซลล์สาหร่ายจะไหลผ่านเข้าใกล้แสง ถ้าจะให้ได้ผลเร็วก็ต้องใช้จำนวนหลายหลอด และมีกำลังวัตต์ที่มากพอด้วย ​

ถาม – แสงจากหลอดยูวีพวกนี้ยังมีประโยชน์อย่างอื่นมั้ยครับ​

ตอบ – มีงานวิจัยว่า แสงยูวียังช่วยกำจัดสารในกลุ่มคลอรามีน เช่น คลอรีนในน้ำได้ด้วยครับ​

ถาม – ขอคำแนะนำในการใช้หลอดยูวีด้วยครับ​

ตอบ – ตามหลักวิชาเลยนะ…และได้ผลดีจริง บ่อที่ไม่เลี้ยงปลา คือสร้างบ่อขึ้นมาเพื่อความสวยงามเฉยๆ อาจปลูกพืชน้ำจำพวก กก บ้างเล็กน้อย ต้องการให้น้ำใส ปริมาณน้ำ 1 ตัน(1,000 ลิตร) ใช้ 1 วัตต์ แต่ต้องให้น้ำหมุนเวียนด้วยนะ อย่าให้น้ำนิ่ง ​

บ่อเลี้ยงปลา ที่มีสภาพร่มเงาดี ปริมาณน้ำ 1 ตัน ใช้ 2 วัตต์ ​

บ่อเลี้ยงปลา ที่ได้รับแสงแดดมาก ปริมาณน้ำ 1 ตัน ใช้ 4 วัตต์ ​ ​

ถาม – หลอดพวกนี้อายุใช้งานนานมั้ยครับ​

ตอบ – หลอดจะลดประสิทธิภาพลงเรื่อยๆ จะลดมากลดน้อยก็อยู่กับคุณภาพสินค้า ทั่วๆไปมีอายุ 8-10 เดือน วิธีสังเกตว่าควรเปลี่ยนหรือยัง ก็ดูแสงถ้าสว่างน้อยลงหรือเปลี่ยนจากสีเดิม หรือใส่แว่นกันแสงแล้วดู ถ้าแสงมีลักษณะสั่นๆตลอดเวลา ไม่สม่ำเสมอ หรือสังเกตดูคุณภาพน้ำ ถ้าเปิดไว้หลายวันแล้วน้ำก็ยังเขียวก็ถึงเวลาเปลี่ยนแล้ว ​

และเพื่อไม่ประมาท เวลาใช้ครั้งแรก หรือตรวจเช็คหลอด หรือจะสัมผัสน้ำในบ่อกรอง ควรใช้ไขควงเช็คไฟจุ่มน้ำตรวจกระแสไฟก่อนทุกครั้ง เพราะบางครั้งได้หลอดที่ขั้วไฟไม่ดีน้ำเข้าทำให้ไฟรั่วได้ ​

]]>
https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%81%e0%b8%aa%e0%b8%87%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2/feed/ 0
สวนน้ำตกคิดราคากันอย่างไร ?​ https://baanraigarden.com/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2/ https://baanraigarden.com/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2/#respond Thu, 18 Jun 2015 06:35:34 +0000 https://baanraigarden.com/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2/ เรื่อง การใช้หลอดยูวีในบ่อเลี้ยงปลา แม้ว่าจะเป็นเรื่องเก่า แต่มีแง่มุมน่าสนใจ จึงเรียบเรียงเป็นคำถาม คำตอบ ไว้ให้ศึกษากันต่อไป​

ถาม – ถามจริงๆ หลอดยูวีที่ใช้กัน แก้ปัญหาน้ำเขียวได้จริงหรือครับ​

ตอบ – แก้ได้จริงครับ​

ถาม – อาจารย์เคยพูดว่าปัญหาน้ำในบ่อปลาคือน้ำขุ่นกับน้ำเขียว มันยังไงครับ​

ตอบ – น้ำขุ่น ส่วนใหญ่เกิดจากอนุภาคดิน หรือสารอินทรีย์ที่แขวนลอยอยู่ในเนื้อน้ำ สาเหตุเพราะวัสดุกรองไม่สามารถกรองเก็บไว้ได้ บางทีวัสดุกรองเหมาะสม แต่พื้นบ่อไม่ลาดเอียงพอหรือวางระบบท่อน้ำในบ่อไม่เอื้อให้ตะกอนที่พื้นบ่อไหลเข้าสะดือได้หมด มันก็เหลืออยู่ที่พื้นบ่อเป็นหย่อมๆ โดยเฉพาะตามมุมบ่อ พออุณหภูมิน้ำสูงตะกอนพวกนี้ก็ลอยขึ้นมา เป็นสาเหตุให้น้ำขุ่น ปัญหานี้หลอดยูวีช่วยไม่ได้ครับ​

ส่วนน้ำเขียว เกิดจากสาหร่ายชนิดเซลล์เดียว ที่เติบโตแพร่กระจายอยู่ในน้ำ ความจริงเรามองเซลล์สาหร่ายพวกนี้ไม่เห็น ลองตักใส่แก้วแล้วมองก็จะเห็นว่าน้ำใสดี แต่พออยู่ในบ่อซึ่งมีน้ำมีจำนวนมาก ก็ให้ผลทางการมองเป็นสีเขียวได้

ถ้าบ่อกรองใช้วัสดุกรองที่ดี มีปริมาณมากพอ จัดการรอบหมุนเวียนน้ำเหมาะสม เซลล์สาหร่ายก็จะถูกกรองเก็บเอาไว้ได้ในทุกๆรอบหมุนเวียนของน้ำ เมื่อภายในบ่อกรองไม่มีแสงสว่าง เซลล์สาหร่ายพวกนี้ก็จะตายไป ๆ จนน้ำในบ่อหายเขียวไปในที่สุด​

ถาม – อ้าว…ถ้าน้ำใสด้วยวัสดุกรองได้แล้ว อย่างนั้นทำไมยังต้องใช้หลอดยูวีอีกครับ​

ตอบ – ก็อยากให้น้ำใสไวๆ หรือไม่ก็บ่อเลี้ยงขนาดใหญ่ หรืออาจจำเป็นต้องลดขนาดบ่อกรอง ลดวัสดุกรอง หรือลดรอบหมุนเวียนน้ำ หรือบ่อได้รับแสงแดดนาน ​ หรือปลาที่เลี้ยงมีจำนวนมาก… ด้วยปัญหาหรือข้อจำกัดเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องใช้หลอดยูวีเข้ามาเสริม​

ถาม – อาจารย์ช่วยให้รายละเอียดเรื่องหลอดยูวีสักเล็กน้อยครับ​

ตอบ – แสงยูวี(UV) ก็เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แสงอัลตร้าไวโอเลต แบ่งตามความถี่ของคลื่นมี 3 ชนิด คือ UVA UVB และ UVC ที่เราใช้ในบ่อเลี้ยงปลา จะเป็นชนิด UVC ซึ่งเป็นแสงคลื่นสั้น มีพลังการทำลายเซลล์สิ่งมีชีวิตมากที่สุด ​

นักจัดสวนส่วนใหญ่ใช้ จะเป็นหลอดในแก้วใส เรียกว่าแก้วควอตซ์ โดยวางจุ่มลงในน้ำ อีกแบบหนึ่งเป็นหลอดที่มีกระบอกหุ้ม แต่ไม่ค่อยนิยมนัก เพราะราคาแพงกว่า แบบนี้วางในน้ำไม่ได้ และต้องมีปั๊มหรือต้องต่อท่อแยกให้น้ำจากบ่อกรองไหลเข้าในกระบอกเพื่อให้น้ำผ่านแสงยูวีก่อนที่น้ำจะไหลกลับเข้าบ่อปลา ที่ว่ายุ่งยากคือต้องกำหนดปริมาณน้ำและความเร็วน้ำที่เหมาะสมกับกำลัง(วัตต์)ของหลอดด้วย จึงจะได้ผลดี​

ถาม – ทราบว่าแสงยูวีจะฆ่าเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งที่เป็นจุลินทรีย์ฝ่ายดีและฝ่ายผู้ร้ายนี่ครับ​

ตอบ – นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าเราต้องวางหลอดยูวีไว้ในห้องกรองห้องสุดท้ายคือห้องปั๊มน้ำ จะไม่วางไว้ในห้องใส่วัสดุกรอง หรือไม่วางไว้ในบ่อปลาโดยตรง​

ถาม – เห็นว่ามันอันตรายต่อคนด้วย ​

ตอบ – อันตรายต่อเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกอย่าง อยู่ห่างๆ ได้บ้างอย่านาน ระยะที่แสงยูวีซี หวังผลทำลายจริงๆ ไม่เกิน 3 เซนติเมตรจากไส้หลอด แสงไม่ได้ทำลายจุลินทรีย์หรือเซลล์สาหร่ายคราวเดียวทั่วทั้งบ่อ ต้องใช้เวลาหลายวัน กว่าเซลล์สาหร่ายจะไหลผ่านเข้าใกล้แสง ถ้าจะให้ได้ผลเร็วก็ต้องใช้จำนวนหลายหลอด และมีกำลังวัตต์ที่มากพอด้วย ​

ถาม – แสงจากหลอดยูวีพวกนี้ยังมีประโยชน์อย่างอื่นมั้ยครับ​

ตอบ – มีงานวิจัยว่า แสงยูวียังช่วยกำจัดสารในกลุ่มคลอรามีน เช่น คลอรีนในน้ำได้ด้วยครับ​

ถาม – ขอคำแนะนำในการใช้หลอดยูวีด้วยครับ​

ตอบ – ตามหลักวิชาเลยนะ…และได้ผลดีจริง บ่อที่ไม่เลี้ยงปลา คือสร้างบ่อขึ้นมาเพื่อความสวยงามเฉยๆ อาจปลูกพืชน้ำจำพวก กก บ้างเล็กน้อย ต้องการให้น้ำใส ปริมาณน้ำ 1 ตัน(1,000 ลิตร) ใช้ 1 วัตต์ แต่ต้องให้น้ำหมุนเวียนด้วยนะ อย่าให้น้ำนิ่ง ​

บ่อเลี้ยงปลา ที่มีสภาพร่มเงาดี ปริมาณน้ำ 1 ตัน ใช้ 2 วัตต์ ​

บ่อเลี้ยงปลา ที่ได้รับแสงแดดมาก ปริมาณน้ำ 1 ตัน ใช้ 4 วัตต์ ​ ​

ถาม – หลอดพวกนี้อายุใช้งานนานมั้ยครับ​

ตอบ – หลอดจะลดประสิทธิภาพลงเรื่อยๆ จะลดมากลดน้อยก็อยู่กับคุณภาพสินค้า ทั่วๆไปมีอายุ 8-10 เดือน วิธีสังเกตว่าควรเปลี่ยนหรือยัง ก็ดูแสงถ้าสว่างน้อยลงหรือเปลี่ยนจากสีเดิม หรือใส่แว่นกันแสงแล้วดู ถ้าแสงมีลักษณะสั่นๆตลอดเวลา ไม่สม่ำเสมอ หรือสังเกตดูคุณภาพน้ำ ถ้าเปิดไว้หลายวันแล้วน้ำก็ยังเขียวก็ถึงเวลาเปลี่ยนแล้ว ​

และเพื่อไม่ประมาท เวลาใช้ครั้งแรก หรือตรวจเช็คหลอด หรือจะสัมผัสน้ำในบ่อกรอง ควรใช้ไขควงเช็คไฟจุ่มน้ำตรวจกระแสไฟก่อนทุกครั้ง เพราะบางครั้งได้หลอดที่ขั้วไฟไม่ดีน้ำเข้าทำให้ไฟรั่วได้ ​

]]>
https://baanraigarden.com/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2/feed/ 0
การระบายน้ำใต้ผิวดิน https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b8%9c%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%99/ https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b8%9c%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%99/#respond Thu, 18 Jun 2015 06:34:17 +0000 https://gardening.local/?p=102 มีบางเรื่องเวลาพูดถึงแล้วยังเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน คือ

คำว่า..ระดับน้ำใต้ดินสูง การระบายน้ำใต้ผิวดิน ​ การระบายน้ำใต้ดิน

เมื่อเข้าไปวิเคราะห์พื้นที่ในงานจัดสวน เรื่องสำคัญประการหนึ่งคือ การหาวิธีระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้ได้ วิธีการระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่ดีที่สุดคือ การระบายน้ำทางผิวดิน ความหมายง่ายๆ คือ การปรับพื้นที่ให้ลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลไปยังจุดรับน้ำแล้วระบายออกจากพื้นที่

ที่บอกว่าดีที่สุดเพราะ มีประสิทธิภาพที่สุด ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้หลักการอะไรมาก ค่าใช้จ่ายต่ำหรือแทบไม่ต้องจ่ายเพิ่ม สภาพพื้นที่ก็ดูสวยงามสะอาดตา

น้ำในพื้นที่ ส่วนใหญ่มาจากน้ำฝนหรือเกิดจากการตั้งเวลาระบบการรดน้ำที่มากเกิน น้ำส่วนหนึ่งจะซึมลงพื้นดิน น้ำส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพืช แต่ดินจะรับไว้ได้จำกัดตามสภาพการปรับปรุงดินของนักจัดสวน ถ้าปรับปรุงดินดีดินก็จะอุ้มน้ำไว้มาก ปรับปรุงไม่ดีก็อุ้มน้ำได้น้อย ส่วนน้ำที่เกินจะเอ่อไหลออกไปตามความลาดเอียงที่ปรับระดับไว้…

แต่บางพื้นที่ บางบ้าน ไม่สามารถใช้วิธีระบายน้ำทางผิวดินได้ เพราะถูกปิดล้อมด้วยกำแพง หรือด้วยเหตุอื่นๆ วิธีการที่จะแก้ปัญหามีหลายวิธี แต่ควรเริ่มจากวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุดไปตามลำดับ เช่น

ระบายทางผิวดินร่วมกับร่องน้ำ มีทั้งร่องแบบเปิด ร่องแบบปิด หากไม่ชอบเพราะมองเห็นรูปร่องน้ำ ก็ระบายทางผิวดินร่วมกับการทำบ่อพักเป็นระยะๆ ปรับพื้นที่ลาดเอียงลงบ่อพัก แล้วมีท่อเชื่อมฝังอยู่ใต้ดิน ซึ่งเป็นวิธีที่เห็นกันทั่วไป

ถ้าไม่สามารถทำได้อย่างที่กล่าวมา ก็ต้องใช้วิธีสุดท้าย คือ การวางระบบระบายน้ำใต้ดิน ถ้าให้ถูกต้อง เรียกว่า การระบายน้ำใต้ผิวดิน คือการขุดดินวางท่อระบายลึกลงไปราว 30 ซม. ไม่เกิน50 ซม. ขึ้นอยู่กับประเภทของเนื้อดิน ซึ่งก็มีวิธีการเฉพาะที่อาจแตกต่างกันไปบ้าง

การระบายน้ำใต้ผิวดิน นี้ละคือประเด็นที่กล่าว เพราะหลายครั้งคนก็เข้าใจว่า นี่เป็นการระบายน้ำใต้ดิน ใช้สำหรับพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง เช่น ในเขตกรุงเทพบางพื้นที่

ความจริง การระบายน้ำใต้ผิวดินนี้ ก็ยังเป็นการระบายน้ำจากผิวดิน โดยที่น้ำจะถูกบังคับให้ซึมลงมารวมกันในท่อที่ฝังไว้ ก่อนจะไหลออกไปในจุดที่ต้องการ เมื่อน้ำที่ไหลซึมลงมาในดินถูกถ่ายเทออกไป น้ำจากบนผิวดินก็จะซึมเข้ามาแทนที่ ลักษณะนี้จะดำเนินไปเรื่อยๆ จนน้ำบนผิวดินค่อยๆ แห้งไป ส่วนใหญ่ใช้กับพื้นดินที่มีชั้นดินล่างแน่นหรือเป็นชั้นดินเหนียว น้ำซึมลึกไม่ได้

วิธีนี้ จะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับคนวางระบบว่ามีความเข้าใจเรื่องอัตราการซึมของน้ำในดินแต่ละประเภท ความเข้าใจในการวางระบบระบายใต้ดิน เนื่องเพราะวิธีการแบบนี้จะใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายของผู้ออกแบบ เพราะมีมากมายหลายที่ ก็ยังเห็นน้ำท่วมขังอยู่หลายชั่วโมง ทั้งที่มีท่อระบายน้ำอยู่ใต้ดิน…

ดังนั้น วิธีระบายด้วยท่อฝังดินที่มีความลึกแค่นี้ จึงไม่ใช่วิธีระบายน้ำใต้ดิน ที่เกิดจากระดับน้ำใต้ดินสูงตามที่เข้าใจ ถ้าจะระบายน้ำใต้ดิน ในพื้นที่ระดับน้ำใต้ดินสูงจริงๆ ต้องตรวจสอบระดับน้ำใต้ดินก่อนว่า อยู่ในระดับความลึกเท่าใด ทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง แล้วประเมินก่อนว่ามีผลต่อการปลูกต้นไม้หรือไม่ ถ้าไม่มีผลก็ไม่ต้องทำ

ถ้าไม่มีข้อมูลระดับความลึกของน้ำใต้ดิน ก็ถือเอาความลึกของรากไม้ใหญ่ที่นำมาปลูกเป็นเกณฑ์ โดยปกติไม้ใหญ่ต้องการความลึกของชั้นดินปลูกอย่างน้อย 0.80 -1 ม. ดังนั้น ท่อระบายน้ำใต้ดิน ต้องวางลึกไม่น้อยกว่า 1 ม. และต้องวางให้แนวท่อใกล้ตำแหน่งปลูกไม้ใหญ่ เมื่อน้ำใต้ดินยกตัวสูงขึ้น น้ำจะไหลเข้าสู่ท่อระบายที่วางดักไว้ แล้วไหลออกไปยังบ่อพัก เพื่อระบายออกหรือสูบออกนอกพื้นที่ เรื่องการระบายน้ำใต้ดิน

ยังมีรายละเอียดอีกพอสมควร นี่ก็เขียนไว้ยาวมากแล้ว จึงยุติไว้แค่นี้ก่อน

]]>
https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b8%9c%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%99/feed/ 0
การระบายน้ำใต้ผิวดิน https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%9c%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99/ https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%9c%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99/#respond Thu, 18 Jun 2015 06:34:17 +0000 https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%9c%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99/ มีบางเรื่องเวลาพูดถึงแล้วยังเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน คือ

คำว่า..ระดับน้ำใต้ดินสูง การระบายน้ำใต้ผิวดิน ​ การระบายน้ำใต้ดิน

เมื่อเข้าไปวิเคราะห์พื้นที่ในงานจัดสวน เรื่องสำคัญประการหนึ่งคือ การหาวิธีระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้ได้ วิธีการระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่ดีที่สุดคือ การระบายน้ำทางผิวดิน ความหมายง่ายๆ คือ การปรับพื้นที่ให้ลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลไปยังจุดรับน้ำแล้วระบายออกจากพื้นที่

ที่บอกว่าดีที่สุดเพราะ มีประสิทธิภาพที่สุด ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้หลักการอะไรมาก ค่าใช้จ่ายต่ำหรือแทบไม่ต้องจ่ายเพิ่ม สภาพพื้นที่ก็ดูสวยงามสะอาดตา

น้ำในพื้นที่ ส่วนใหญ่มาจากน้ำฝนหรือเกิดจากการตั้งเวลาระบบการรดน้ำที่มากเกิน น้ำส่วนหนึ่งจะซึมลงพื้นดิน น้ำส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพืช แต่ดินจะรับไว้ได้จำกัดตามสภาพการปรับปรุงดินของนักจัดสวน ถ้าปรับปรุงดินดีดินก็จะอุ้มน้ำไว้มาก ปรับปรุงไม่ดีก็อุ้มน้ำได้น้อย ส่วนน้ำที่เกินจะเอ่อไหลออกไปตามความลาดเอียงที่ปรับระดับไว้…

แต่บางพื้นที่ บางบ้าน ไม่สามารถใช้วิธีระบายน้ำทางผิวดินได้ เพราะถูกปิดล้อมด้วยกำแพง หรือด้วยเหตุอื่นๆ วิธีการที่จะแก้ปัญหามีหลายวิธี แต่ควรเริ่มจากวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุดไปตามลำดับ เช่น

ระบายทางผิวดินร่วมกับร่องน้ำ มีทั้งร่องแบบเปิด ร่องแบบปิด หากไม่ชอบเพราะมองเห็นรูปร่องน้ำ ก็ระบายทางผิวดินร่วมกับการทำบ่อพักเป็นระยะๆ ปรับพื้นที่ลาดเอียงลงบ่อพัก แล้วมีท่อเชื่อมฝังอยู่ใต้ดิน ซึ่งเป็นวิธีที่เห็นกันทั่วไป

ถ้าไม่สามารถทำได้อย่างที่กล่าวมา ก็ต้องใช้วิธีสุดท้าย คือ การวางระบบระบายน้ำใต้ดิน ถ้าให้ถูกต้อง เรียกว่า การระบายน้ำใต้ผิวดิน คือการขุดดินวางท่อระบายลึกลงไปราว 30 ซม. ไม่เกิน50 ซม. ขึ้นอยู่กับประเภทของเนื้อดิน ซึ่งก็มีวิธีการเฉพาะที่อาจแตกต่างกันไปบ้าง

การระบายน้ำใต้ผิวดิน นี้ละคือประเด็นที่กล่าว เพราะหลายครั้งคนก็เข้าใจว่า นี่เป็นการระบายน้ำใต้ดิน ใช้สำหรับพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง เช่น ในเขตกรุงเทพบางพื้นที่

ความจริง การระบายน้ำใต้ผิวดินนี้ ก็ยังเป็นการระบายน้ำจากผิวดิน โดยที่น้ำจะถูกบังคับให้ซึมลงมารวมกันในท่อที่ฝังไว้ ก่อนจะไหลออกไปในจุดที่ต้องการ เมื่อน้ำที่ไหลซึมลงมาในดินถูกถ่ายเทออกไป น้ำจากบนผิวดินก็จะซึมเข้ามาแทนที่ ลักษณะนี้จะดำเนินไปเรื่อยๆ จนน้ำบนผิวดินค่อยๆ แห้งไป ส่วนใหญ่ใช้กับพื้นดินที่มีชั้นดินล่างแน่นหรือเป็นชั้นดินเหนียว น้ำซึมลึกไม่ได้

วิธีนี้ จะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับคนวางระบบว่ามีความเข้าใจเรื่องอัตราการซึมของน้ำในดินแต่ละประเภท ความเข้าใจในการวางระบบระบายใต้ดิน เนื่องเพราะวิธีการแบบนี้จะใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายของผู้ออกแบบ เพราะมีมากมายหลายที่ ก็ยังเห็นน้ำท่วมขังอยู่หลายชั่วโมง ทั้งที่มีท่อระบายน้ำอยู่ใต้ดิน…

ดังนั้น วิธีระบายด้วยท่อฝังดินที่มีความลึกแค่นี้ จึงไม่ใช่วิธีระบายน้ำใต้ดิน ที่เกิดจากระดับน้ำใต้ดินสูงตามที่เข้าใจ ถ้าจะระบายน้ำใต้ดิน ในพื้นที่ระดับน้ำใต้ดินสูงจริงๆ ต้องตรวจสอบระดับน้ำใต้ดินก่อนว่า อยู่ในระดับความลึกเท่าใด ทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง แล้วประเมินก่อนว่ามีผลต่อการปลูกต้นไม้หรือไม่ ถ้าไม่มีผลก็ไม่ต้องทำ

ถ้าไม่มีข้อมูลระดับความลึกของน้ำใต้ดิน ก็ถือเอาความลึกของรากไม้ใหญ่ที่นำมาปลูกเป็นเกณฑ์ โดยปกติไม้ใหญ่ต้องการความลึกของชั้นดินปลูกอย่างน้อย 0.80 -1 ม. ดังนั้น ท่อระบายน้ำใต้ดิน ต้องวางลึกไม่น้อยกว่า 1 ม. และต้องวางให้แนวท่อใกล้ตำแหน่งปลูกไม้ใหญ่ เมื่อน้ำใต้ดินยกตัวสูงขึ้น น้ำจะไหลเข้าสู่ท่อระบายที่วางดักไว้ แล้วไหลออกไปยังบ่อพัก เพื่อระบายออกหรือสูบออกนอกพื้นที่ เรื่องการระบายน้ำใต้ดิน

ยังมีรายละเอียดอีกพอสมควร นี่ก็เขียนไว้ยาวมากแล้ว จึงยุติไว้แค่นี้ก่อน

]]>
https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%9c%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%99/feed/ 0
การปลูกมอสในสวนน้ำตกธรรมชาติ…. https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%98%e0%b8%a3/ https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%98%e0%b8%a3/#respond Thu, 18 Jun 2015 06:33:07 +0000 http://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%98%e0%b8%a3/ ดูเหมือนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้วว่า ถ้าสร้างน้ำตกแนวธรรมชาติขึ้นมา ก็ต้องนำมอส(moss) มาปูหรือแปะไปตามก้อนหิน แล้วหินที่ว่าหลายคนก็คิดว่าต้องเป็นหินฟองน้ำเท่านั้นที่ปูมอสได้ แท้จริงเป็นไปตามนั้นหรือไม่..?

เรื่องนี้ดีหลายอย่าง อย่างน้อยทำให้มอสมีราคา หินฟองน้ำมีคนสนใจ สร้างอาชีพ ก่อรายได้ เศรษฐกิจหมุนเวียน

มอสมีหลายชนิด ผมกล่าวเฉพาะ “มอสดินสีเขียว”เท่านั้น ที่นิยมใช้สำหรับนำมาปูหรือแปะบนก้อนหินหรือแม้แต่งานปูนปั้นก็ปลูกมอสที่ว่านี้ได้ ดังนั้น ไม่ว่าก้อนหินประเภทใดก็สามารถนำมอสนี้มาปลูกไว้ได้

ในกรณีที่นำมอสดินมาใช้ปูบนก้อนหินหรือพื้นผิวคอนกรีต จะงอกงามมากขึ้นถ้าใช้วัสดุปลูกที่เรียกว่า พีทมอส (Peat moss)ซึ่งเป็นซากของมอสและพืชในกลุ่มไบรโอไฟต์ (Bryophyta) ที่ตายและทับถมอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบหนึ่งนานเป็นร้อยเป็นพันปี

พีทมอสนี่ จะมีเฉพาะประเทศที่มีภูมิอากาศอบอุ่นหรือหนาว เขาพบว่ามันมีสภาพเหมาะสมกับการเติบโตของรากพืชมาก เพราะรักษาความชื้นได้ดี มีการย่อยสลายน้อยหรือช้ามาก จึงทำให้มีค่าPH เป็นกลาง ส่งผลให้รากพืชเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะช่วงแรกปลูก เหมาะสำหรับนำมาเพาะกล้าต้นไม้ บ้านเรานำเข้ามาจำหน่ายมานานแล้ว แต่ราคาสูง

สรุปตรงนี้ก่อนเลยว่า ถ้ามีเงินพอซื้อตัวพีทมอสที่ว่านี้มาใช้ปลูกมอสได้เลย ไม่ต้องทำอะไรที่ยุ่งยาก ดังจะกล่าวต่อไปนี้

ถ้าจะทำวัสดุปลูกมอสเอง ก็พอใช้ได้ดีเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพวัสดุที่เอามาทำ มีส่วนผสมดังนี้

1.ขุยมะพร้าว ไม่ต้องร่อนละเอียด นำไปแช่น้ำ 24 ชม. คือวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง แล้วบีบคั้นเอาน้ำฝาดออก น้ำฝาดนี้เป็นสมบัติของสารแทนนิน สารนี้มีผลเสียต่อการงอกของรากพืช ใช้ขุยมะพร้าวนี้ 2 ส่วน

2.ปุ๋ยมูลไส้เดือน ถ้าใช้มูลดินไส้เดือนเป็นส่วนผสม ก็ใช้ 1 ส่วน ผสมกับขุยมะพร้าวได้เลย ไม่ต้องใช้ วัสดุในข้อ 3 และข้อ 4 ที่จะกล่าวต่อไป ถ้าไม่ใช้ปุ๋ยมูลดินไส้เดือน ก็มีดินชนิดหนึ่งที่ใช้ได้ดี คือคราบดินที่อยู่บนพื้นปูนเก่าแล้วมีตะไคร่น้ำเขียวๆ ดำๆ ขึ้นเป็นปื้นอยู่ สังเกตว่า เวลาแห้งๆ ไม่ถูกน้ำ พื้นดินนี้จะแตกเป็นระแหง เวลาถูกน้ำก็เหนียวเป็นแผ่น ถ้ามีก็ขูดเอาดินแบบนี้มาผสมกับขุยมะพร้าวได้เช่นกัน

ถ้าไม่มีดินที่ว่านี้อีก ก็ใช้ดินร่านปนเหนียว คือต้องมีความเหนียวเล็กน้อย ดินพวกนี้ต้องร่อนให้ได้ขนาดเล็กสม่ำเสมอ ปริมาณที่ใช้สำหรับวัสดุในข้อนี้ให้ใช้ 1 ส่วน

  1. แกลบดำ นำมาผสม 1 ส่วน แกลบดำนี่มีสภาพเหมือนถ่าน ว่ากันว่ามันช่วยเป็นตัวกลางควบคุมวัสดุปลูกไม่ให้เป็นกรดหรือด่างจนเกินไป คล้ายๆเป็นตัวบัฟเฟอร์(Buffer solution)
  2. ปุ๋ยอินทรีย์ ต้องเป็นปุ๋ยอินทรีย์ผ่านกรรมวิธี ตามที่เคยบอกไว้ในตอนก่อนๆ นะครับ เอามาร่อนละเอียดผสมเข้าไปอีก 1/2 ส่วน

นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ขณะคลุกเคล้าให้ผสมน้ำ จนได้ส่วนผสมที่มีความชื้นหมาดๆ

การนำพีทมอสหรือวัสดุที่ทำขึ้นไปวางบนก้อนหินเพื่อปลูกมอสทำได้ 3 วิธี

  1. ถ้าเป็นหินฟองน้ำ วางส่วนผสมนี้เป็นชั้นหนาๆ ราว 2 ซม. กดให้แน่น สะเปรย์น้ำให้ชุ่มชื้น ก่อนเอาแผ่นมอสมาปูทับลงไป
  2. ถ้าเป็นก้อนหินที่มีผิวเกลี้ยงหรือเรียบ ให้ใช้ดินเหนียวหรือดินปลูกบัว มาละลายน้ำแล้วไล้บนก้อนหินในตำแหน่งที่ต้องการปลูกให้ทั่วก่อน แล้วใช้ส่วนผสมนี้วางลงไปอีกครั้ง สะเปรย์น้ำแล้วกดให้แน่นแล้วปูมอสลงไป
  3. บางครั้งต้องปูมอสในแนวตั้ง ให้ทำเหมือนข้อ 2 แล้วนำส่วนผสมนี้ผสมเข้ากับดินเหนียวเพิ่มเข้าไปเล็กน้อย กะว่าส่วนผสมดังกล่าวคงตัวอยู่บนผิวก้อนหินได้ก่อน แล้วค่อยปูมอสตามไป

นอกจากปลูกบนก้อนหินแล้ว ยังปลูกลงดินเพื่อเป็นการคลุมผิวดินได้อีกด้วย โดยการใช้วัสดุที่ผสมไว้นี้หว่านให้หนาประมาณประมาณ 2 ซม. กดให้แน่นอยู่ตัว แล้วนำมอสมาปลูก อย่าให้น้ำขังในพื้นที่ปลูก การปลูกมอสด้วยส่วนผสมนี้ ทำให้มอสเติบโตดี ไม่ต้องสะเปรย์น้ำบ่อย

แต่การมีส่วนผสมที่ดี สะเปรย์น้ำในเวลาเหมาะสม ก็ยังไม่พอกับมอส ยังต้องจัดการเรื่องสภาพแสงแดดด้วย เพราะถ้ามอสถูกแสงแดดโดยตรงนานๆ แม้มีความชื้นจากการสเปรย์น้ำอยู่สม่ำเสมอมอสก็ตายอยู่ดี มอสไม่ชอบความร่มที่มีลักษณะมืด แต่มอสชอบความสว่าง เพียงแต่ไม่ใช่โดนแสงแดดโดยตรง ต้องเป็นแสงที่ผ่านการกรองจากร่มเงาไม้ใหญ่ หรือตาข่ายพรางแสง และชอบความชื้นสูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ

ความจริงการนำมอสมาปลูกในสวนน้ำตก ต้องรอร่มเงาจากไม้ใหญ่ก่อน แต่คนส่วนใหญ่รอไม่ได้ นักจัดสวนก็รอไม่ได้ เลยจัดให้ ถัดไม่กี่วันมอสก็เปลี่ยนจากสีเขียวสดใสเป็นสีเหลือง และแห้งตาย จะรอดอยู่บ้างก็ในส่วนที่ร่มเท่านั้น

]]>
https://baanraigarden.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%98%e0%b8%a3/feed/ 0