สวนน้ำตกคิดราคากันอย่างไร ?​

สวนน้ำตกคิดราคากันอย่างไร ?​

เรื่อง การใช้หลอดยูวีในบ่อเลี้ยงปลา แม้ว่าจะเป็นเรื่องเก่า แต่มีแง่มุมน่าสนใจ จึงเรียบเรียงเป็นคำถาม คำตอบ ไว้ให้ศึกษากันต่อไป​

ถาม – ถามจริงๆ หลอดยูวีที่ใช้กัน แก้ปัญหาน้ำเขียวได้จริงหรือครับ​

ตอบ – แก้ได้จริงครับ​

ถาม – อาจารย์เคยพูดว่าปัญหาน้ำในบ่อปลาคือน้ำขุ่นกับน้ำเขียว มันยังไงครับ​

ตอบ – น้ำขุ่น ส่วนใหญ่เกิดจากอนุภาคดิน หรือสารอินทรีย์ที่แขวนลอยอยู่ในเนื้อน้ำ สาเหตุเพราะวัสดุกรองไม่สามารถกรองเก็บไว้ได้ บางทีวัสดุกรองเหมาะสม แต่พื้นบ่อไม่ลาดเอียงพอหรือวางระบบท่อน้ำในบ่อไม่เอื้อให้ตะกอนที่พื้นบ่อไหลเข้าสะดือได้หมด มันก็เหลืออยู่ที่พื้นบ่อเป็นหย่อมๆ โดยเฉพาะตามมุมบ่อ พออุณหภูมิน้ำสูงตะกอนพวกนี้ก็ลอยขึ้นมา เป็นสาเหตุให้น้ำขุ่น ปัญหานี้หลอดยูวีช่วยไม่ได้ครับ​

ส่วนน้ำเขียว เกิดจากสาหร่ายชนิดเซลล์เดียว ที่เติบโตแพร่กระจายอยู่ในน้ำ ความจริงเรามองเซลล์สาหร่ายพวกนี้ไม่เห็น ลองตักใส่แก้วแล้วมองก็จะเห็นว่าน้ำใสดี แต่พออยู่ในบ่อซึ่งมีน้ำมีจำนวนมาก ก็ให้ผลทางการมองเป็นสีเขียวได้

ถ้าบ่อกรองใช้วัสดุกรองที่ดี มีปริมาณมากพอ จัดการรอบหมุนเวียนน้ำเหมาะสม เซลล์สาหร่ายก็จะถูกกรองเก็บเอาไว้ได้ในทุกๆรอบหมุนเวียนของน้ำ เมื่อภายในบ่อกรองไม่มีแสงสว่าง เซลล์สาหร่ายพวกนี้ก็จะตายไป ๆ จนน้ำในบ่อหายเขียวไปในที่สุด​

ถาม – อ้าว…ถ้าน้ำใสด้วยวัสดุกรองได้แล้ว อย่างนั้นทำไมยังต้องใช้หลอดยูวีอีกครับ​

ตอบ – ก็อยากให้น้ำใสไวๆ หรือไม่ก็บ่อเลี้ยงขนาดใหญ่ หรืออาจจำเป็นต้องลดขนาดบ่อกรอง ลดวัสดุกรอง หรือลดรอบหมุนเวียนน้ำ หรือบ่อได้รับแสงแดดนาน ​ หรือปลาที่เลี้ยงมีจำนวนมาก… ด้วยปัญหาหรือข้อจำกัดเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องใช้หลอดยูวีเข้ามาเสริม​

ถาม – อาจารย์ช่วยให้รายละเอียดเรื่องหลอดยูวีสักเล็กน้อยครับ​

ตอบ – แสงยูวี(UV) ก็เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แสงอัลตร้าไวโอเลต แบ่งตามความถี่ของคลื่นมี 3 ชนิด คือ UVA UVB และ UVC ที่เราใช้ในบ่อเลี้ยงปลา จะเป็นชนิด UVC ซึ่งเป็นแสงคลื่นสั้น มีพลังการทำลายเซลล์สิ่งมีชีวิตมากที่สุด ​

นักจัดสวนส่วนใหญ่ใช้ จะเป็นหลอดในแก้วใส เรียกว่าแก้วควอตซ์ โดยวางจุ่มลงในน้ำ อีกแบบหนึ่งเป็นหลอดที่มีกระบอกหุ้ม แต่ไม่ค่อยนิยมนัก เพราะราคาแพงกว่า แบบนี้วางในน้ำไม่ได้ และต้องมีปั๊มหรือต้องต่อท่อแยกให้น้ำจากบ่อกรองไหลเข้าในกระบอกเพื่อให้น้ำผ่านแสงยูวีก่อนที่น้ำจะไหลกลับเข้าบ่อปลา ที่ว่ายุ่งยากคือต้องกำหนดปริมาณน้ำและความเร็วน้ำที่เหมาะสมกับกำลัง(วัตต์)ของหลอดด้วย จึงจะได้ผลดี​

ถาม – ทราบว่าแสงยูวีจะฆ่าเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งที่เป็นจุลินทรีย์ฝ่ายดีและฝ่ายผู้ร้ายนี่ครับ​

ตอบ – นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าเราต้องวางหลอดยูวีไว้ในห้องกรองห้องสุดท้ายคือห้องปั๊มน้ำ จะไม่วางไว้ในห้องใส่วัสดุกรอง หรือไม่วางไว้ในบ่อปลาโดยตรง​

ถาม – เห็นว่ามันอันตรายต่อคนด้วย ​

ตอบ – อันตรายต่อเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกอย่าง อยู่ห่างๆ ได้บ้างอย่านาน ระยะที่แสงยูวีซี หวังผลทำลายจริงๆ ไม่เกิน 3 เซนติเมตรจากไส้หลอด แสงไม่ได้ทำลายจุลินทรีย์หรือเซลล์สาหร่ายคราวเดียวทั่วทั้งบ่อ ต้องใช้เวลาหลายวัน กว่าเซลล์สาหร่ายจะไหลผ่านเข้าใกล้แสง ถ้าจะให้ได้ผลเร็วก็ต้องใช้จำนวนหลายหลอด และมีกำลังวัตต์ที่มากพอด้วย ​

ถาม – แสงจากหลอดยูวีพวกนี้ยังมีประโยชน์อย่างอื่นมั้ยครับ​

ตอบ – มีงานวิจัยว่า แสงยูวียังช่วยกำจัดสารในกลุ่มคลอรามีน เช่น คลอรีนในน้ำได้ด้วยครับ​

ถาม – ขอคำแนะนำในการใช้หลอดยูวีด้วยครับ​

ตอบ – ตามหลักวิชาเลยนะ…และได้ผลดีจริง บ่อที่ไม่เลี้ยงปลา คือสร้างบ่อขึ้นมาเพื่อความสวยงามเฉยๆ อาจปลูกพืชน้ำจำพวก กก บ้างเล็กน้อย ต้องการให้น้ำใส ปริมาณน้ำ 1 ตัน(1,000 ลิตร) ใช้ 1 วัตต์ แต่ต้องให้น้ำหมุนเวียนด้วยนะ อย่าให้น้ำนิ่ง ​

บ่อเลี้ยงปลา ที่มีสภาพร่มเงาดี ปริมาณน้ำ 1 ตัน ใช้ 2 วัตต์ ​

บ่อเลี้ยงปลา ที่ได้รับแสงแดดมาก ปริมาณน้ำ 1 ตัน ใช้ 4 วัตต์ ​ ​

ถาม – หลอดพวกนี้อายุใช้งานนานมั้ยครับ​

ตอบ – หลอดจะลดประสิทธิภาพลงเรื่อยๆ จะลดมากลดน้อยก็อยู่กับคุณภาพสินค้า ทั่วๆไปมีอายุ 8-10 เดือน วิธีสังเกตว่าควรเปลี่ยนหรือยัง ก็ดูแสงถ้าสว่างน้อยลงหรือเปลี่ยนจากสีเดิม หรือใส่แว่นกันแสงแล้วดู ถ้าแสงมีลักษณะสั่นๆตลอดเวลา ไม่สม่ำเสมอ หรือสังเกตดูคุณภาพน้ำ ถ้าเปิดไว้หลายวันแล้วน้ำก็ยังเขียวก็ถึงเวลาเปลี่ยนแล้ว ​

และเพื่อไม่ประมาท เวลาใช้ครั้งแรก หรือตรวจเช็คหลอด หรือจะสัมผัสน้ำในบ่อกรอง ควรใช้ไขควงเช็คไฟจุ่มน้ำตรวจกระแสไฟก่อนทุกครั้ง เพราะบางครั้งได้หลอดที่ขั้วไฟไม่ดีน้ำเข้าทำให้ไฟรั่วได้ ​

Related posts

บ่อปลาคาร์ฟ

เรื่องที่เหมือนจะรู้ในการรักษาคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาคาร์ป​…

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Proin tincidunt nunc lorem, nec faucibus mi facilisis eget. Mauris laoreet, nisl id faucibus pellentesque, mi mi tempor enim, sit amet interdum felis nibh a leo.

Read More

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *